การแนะนำการบริการอื่นๆโดยพาสโคประเทศไทย

บริการอื่นๆ
MMS (Mobile Mapping System)

ระบบการทำแผนที่ชนิดเคลื่อนที่ได้เป็นอุปกรณ์เลเซอร์ที่ติดตั้งบนรถยนต์ใช้สํารวจข้อมูลพิกัด 3 มิติก็บภาพบริเวณโดยรอบเขตทางและถนนอย่างต่อเนื่องโดยใช้เลเซอร์ 3มิติและกล้องดิจิตอล ระบบทําแผนที่ชนิดเคลื่อนที่ได้ครอบคลุมการใช้เทคโนโลยีเครื่องมือสํารวจรังวัดที่สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยบุคคลการติดตั้งบนยานพาหนะบนพื้นดินบนเรือแล่นบนผิวน้ำไปจนถึงในอากาศยานพาหนะเหล่านี้โดยพื้นฐานจะต้องติดตั้งระบบนําทางที่มีความละเอียดและถูกต้องสูงเพื่อให้ทราบตําแหน่งของรถพร้อมการวางตัวตลอดเวลาการบันทึกข้อมูลณขณะเวลาใดที่เรียกว่าวิถีของพาหนะความสัมพันธ์ของตัวรถและระยะไปยังเซนเซอร์ต่างๆที่ติดตั้งอยู่ร่วมกันบนยานพาหนะความสัมพันธ์นี้ทําให้ทราบตําแหน่งและการวางตัวของเซนเซอร์ที่ใช้สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงไปยังค่าพิกัดวัตถุทั้งสามมิติที่ปรากฏในกายภาพที่ต้องรังวัดปรากฏการณ์ทางกายภาพที่ต้องการรังวัดและยังช่วยประเมินให้ทราบถึงชนิดและคุณลักษณะของสิ่งเหล่านั้นดังนั้นระบบทําแผนที่ชนิดเคลื่อนที่ได้จึงเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและความรู้ความเข้าใจทางด้าน Global Navigation Satellite System (GNSS), Inertial Navigation System (INS), computer vision and close-range photogrammetry, frame and spherical video CCD imaging system และ laser scanner / Lidar

ระบบทําแผนที่ชนิดเคลื่อนที่ได้ติดตั้งบนแพลฟอร์มที่กล่าวข้างต้นสามารถบันทึกข้อมูลในพื้นที่ที่ต้องการจัดทำข้อมูลได้อย่างรวดเร็วโดยการเคลื่อนที่ผ่านการบันทึกข้อมูลทำบนยานพาหนะที่มีความเร็วสูงเช่นระบบทำแผนที่ชนิดเคลื่อนที่ได้บนรถยนต์สามารถทำความเร็วได้หลายสิบกิโลเมตรต่อชั่วโมงระบบทำแผนที่บนอากาศยานทำความเร็วได้สูงหลายร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมงอาทิระบบทำแผนที่ชนิดเคลื่นที่ได้เป็นการสำรวจระยะไกลไม่สัมผัสข้อมูลที่บันทึกได้จะถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบและเป็นการบันทึกข้อมูลจำนวนมากในครั้งเดียวในพื้นที่ประโยชน์เหล่านี้จะเห็นได้ชัดในพื้นที่ที่การทำงานมีข้อจำกัดเช่นมีการจราจรมากและไม่สามารถหยุดได้พื้นที่เกิดภัยพิบัติที่ต้องการประเมินและดำเนินการฟื้นฟูโดยเร็วพื้นที่กำลังพัฒนาที่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกันอยู่พื้นที่เอกชนที่มีศักยภาพจะถูกพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะเป็นต้นระบบทำแผนที่ชนิดเคลื่อนที่ได้จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สำหรับแต่ละการประยุกต์ใช้สกัดข้อมูลออกจากภาพวิดีโอหลายแง่มุมมองการแสดงภาพและการสกัดข้อมูลจากวิดีโอมุมกว้างและกลุ่มของจุดเลเซอร์ผลผลิตข้อมูลจากระบบต่างๆเหล่านี้สามารถให้ข้อมูลแผนที่และภูมิสารสนเทศที่มีคุณภาพเรียกย้อนดูได้อย่างละเอียดได้บ่อยๆโดยไม่ต้องกลับลงพื้นที่ข้อมูลมีความละเอียดถูกต้องเทียบเท่าแผนที่มาตราส่วนใหญ่ข้อมูลที่ได้สามารถผลิตเป็นข้อมูลชนิดต่างๆเช่น Video GIS ที่ผลิตได้อย่างรวดเร็วแผนที่มาตราส่วนใหญ่ระบบสารสนเทศสามมิติชนิดจมลึกที่รังวัดโดยตรงจากภาพได้แบบจำลองสามมิติเสมือนจริงของเมืองการสเก็ตซ์สามมิติจากภาพมุมมองเอียงเป็นต้น

Mobile Mapping System (MMS)

การบริหารจัดการถนนโดยใช้ MMS

  1. บัญชีรายชื่อถนน, แผนที่ภูมิประเทศ, การเตรียมความพร้อมแผนที่พื้นฐานการใช้ MMS ในการสำรวจสภาพถนน (สิ่งก่อสร้าง, วัตถุที่เกี่ยวข้องกับถนน, การถือครอง) การสำรวจโดยใช้ MMS สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานสำรวจด้านสาธารณะผังเส้นทางเดินรถที่ปราศจากรถยนต์ได้
  2. การควบคุมวัตถุที่เกี่ยวข้องกับถนนและบัญชีรายชื่อการสร้างถนนการใช้ MMS ในการพิจารณาวัตถุที่เป็นส่วนประกอบของถนนและผิวถนน (ป้าย, เสาไฟ, ท่อ, Guardrail, กำแพงกั้นเสียง) จากข้อมูลจุดสามมิติทำให้เราได้ข้อมูลตำแหน่งที่ถูกต้องมีประโยชน์ต่อการสร้างระบบจัดการและควบคุมโครงสร้างพื้นฐานของถนนแบบบูรณาการได้
  3. สนับสนุนการออกแบบสิ่งก่อสร้างที่นำเข้าข้อมูลที่ได้จาก MMS มาประยุกต์ใช้งานการประยุกต์ใช้ข้อมูลจุดสามมิติที่ได้จาก MMS สามารถนำมาจัดทำรูปกราฟและแบบแปลนภาพตัดขวางในจุดใดก็ได้การใช้ข้อมูลเลเซอร์สำรวจที่มีความแม่นยำสูงการนำข้อมูลจุดสามมิติที่ได้จากเลเซอร์มาซ้อนทับกันจากด้านล่างของโครงสร้างวัตถุ
  4. การแก้ไขและป้องกันภัยพิบัติกรณีที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติบนถนนเช่นการถล่มของสโลปสามารถตรวจสอบความเสียหายโดยการเปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังภัยพิบัติได้สำหรับโปรแกรมที่ใช้ในการทำงานด้าน MMS ของพาสโค (ประเทศไทย) คือ PADMS-Viewer และ Stereo Matching ซึ่งเป็นโปรแกรมที่นำมาจากพาสโค (ประเทศญี่ปุ่น)

PADMS-Viewer เป็นโปรแกรมที่ใช้นำเข้าข้อมูลที่ได้จากการสำรวจของรถที่ติดตั้งระบบ MMS ในระดับที่ไม่สูงมากนักส่วนใหญ่จะนำมาขึ้นรูปถนนทางม้าลายป้ายต่างๆเสาไฟเป็นต้น

StereoMachingเป็นโปรแกรมที่ใช้นำเข้าข้อมูลที่ได้จากการสำรวจของรถที่ติดตั้งระบบ MMS เหมือนกันข้อแตกต่างก็คือสามารถมองเห็นในระดับที่มีความสูงและครอบคลุมได้มากถึง 360 องศาจะนำมาใช้ขึ้นรูปสโลปพื้นที่ที่มีความสูง
Survey & Consulting
  1. การสำรวจหาตำแหน่งด้วยเครื่อง GPS
  1. การรังวัดแบบสถิต (Static Survey) การรังวัดแบบสถิตเป็นการทำงานโดยใช้เครื่องรับตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปโดยเครื่องรับเครื่องหนึ่งจะนำไปวางอยู่ณจุดที่ทราบตำแหน่งส่วนเครื่องที่เหลือวางไว้ณจุดที่ต้องการทราบตำแหน่งเพิ่มเติมโดยปกติเครื่องรับจะถูกวางไว้ไม่น้อยกว่าสี่สิบห้านาทีวิธีการนี้ใช้หาตำแหน่งสัมพัทธ์ระหว่างจุดสองจุดที่อยู่ห่างกันเป็นระยะทางไกลได้ประมาณ 20-30 กิโลเมตร
  2. การรังวัดแบบจลน์ในทันที (Real Time Kinematic Survey: RTK) การรังวัดแบบจลน์ในทันทีเป็นการรังวัดที่ได้ค่าพิกัดตำแหน่งทันทีในสนามโดยข้อมูลจากทั้งสองจุดต้องนำมาประมวลผลร่วมกันโดยใช้คลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูลจากจุดอ้างอิงซึ่งเป็นจุดที่ทราบตำแหน่งอยู่แล้วไปยังจุดที่ต้องการหาตำแหน่งเครื่องรับข้อมูลแล้วนำไปประมวลผลและแสดงค่าพิกัดได้อย่างรวดเร็วในทันทีแต่มีข้อจำกัดอยู่ที่ระยะห่างระหว่างจุดที่ใช้ทำงานได้ไม่เกิน 15 กิโลเมตรนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับกำลังของคลื่นวิทยุที่ใช้ลักษณะภูมิประเทศปัจจุบันการสำรวจด้วยเครื่อง GPS สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานสำรวจอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างกว้างขวางอาทิเช่นการสำรวจด้วย LIDAR, การสำรวจด้วยระบบ MMS
  1. บริการ Digitize ข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศหรือจากภาพดาวเทียม
    เป็นการแปลแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศโดยพิจารณาจากสิ่งที่ปรากฏบนภาพถ่ายโดยใช้ประสบการณ์และความชำนาญของผู้แปลโดยการแปลความหมายจากภาพถ่ายทางอากาศจะสามารถจำแนกได้เป็นประเภทการใช้ที่ดินบ้านน้ำถนนเขตเมืองเขตป่า
  1. บริการจัดทำข้อมูลด้วยระบบ GIS
    เป็นการนำข้อมูลที่ได้ดำเนินการมาทั้งในขั้นตอนการแปลภาพถ่าย ( ทั้งรูปแบบการ Digitize 2 มิติหรือแปลภาพด้วยกรรมวิธี 3 มิติ Photogrammetry Stereo Plotting ) มารวมกับข้อมูลที่ได้รับมาจากการสำรวจเพิ่มเติมในภาคสนามเพื่อให้เป็นระบบข้อมูลที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์และมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งเชิงพื้นที่อาทิเช่นบ้านเลขที่มีความสัมพันธ์เชิงตำแหน่งกับตำแหน่งบ้านที่อยู่ในแผนที่เป็นต้น